Na Na Sa Ra [นานา สาระ]

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

กรดโฟลิก

กรดโฟลิกดีจริง !ต้องกินก่อนท้อง 1-3 เดือน
โดย เกตน์สิรี

แม้ว่าคุณผู้หญิงหลายคนจะรู้จักกรดโฟลิกเป็นอย่างดีแล้ว แต่เชื่อว่ายังมีอีกไม่น้อยที่ไม่คุ้นเคย หรือไม่รู้จัก และถ้าคุณกำลังวางแผนจะมีเจ้าตัวน้อยล่ะก็ ต้องเร่งรีบทำความรู้จักเลยล่ะค่ะ เพราะกรดโฟลิกเป็นวิตามินบีตัวหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง หากคุณวางแผนจะมีลูกแล้วกินกรดโฟลิกก่อนท้อง 1-3 เดือน จะช่วยให้พัฒนาการของสมองลูกเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ช่วยป้องกันความพิการที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงชีวิตของลูกด้วยค่ะ


สาเหตุที่นำเสนอเรื่องนี้เพราะได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณแม่ท่านหน ึ่ง ซึ่งเคยสูญเสียลูกขณะตั้งครรภ์ได้ 5 เดือน เพราะกะโหลกศีรษะไม่ปิด การสูญเสียครั้งนั้นทำให้เธอกลัวการมีลูกไม่น้อย

คุณอรวรรณ มีสีผ่อง เล่าให้ฟังว่า "ปกติเป็นคนรักเด็กค่ะ ชอบท้องและมีความสุขมากขณะท้อง

มีลูกแล้ว 2 คน คลอดออกมาแข็งแรงสมบูรณ์ดีทุกอย่าง จึงอยากมีอีกสักคน เมื่อรู้ว่าท้องจึงไปฝากท้องตามปกติ และไปตรวจครรภ์ตามที่หมอนัดทุกเดือน ไม่พบความผิดปกติใดๆ จนท้อง 4 เดือนกว่า คุณหมอนัดให้ไปอัลตราซาวนด์เพื่อเจาะถุงน้ำคร่ำ

เลยรู้ว่ากะโหลกของลูกไม่ปิด คือไม่มีสมองส่วนบน ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวกับความคิด การจำ แต่ที่ลูกยังดิ้นและมีชีวิตอยู่ได้เพราะสมองส่วนท้ายซึ่งเกี่ยว กับการเจริญเติบโตยังสมบูรณ์อยู่

ถ้าปล่อยให้ท้องต่อไปเขาจะเติบโตตามปกติจนกระทั่งคลอด แต่หลังคลอดจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง เมื่อปรึกษากับสามีและครอบครัวจึงตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์”

ถึงตอนนี้เธอยังคงมีคำถามคาใจว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ดูแลตัวเองและลูกอย่างดีมาตลอด

สำหรับคำถามนี้บอกได้ว่า ปัจจัยครึ่งหนึ่งมาจากขาดกรดโฟลิกค่ะ !



กรดโฟลิก สำคัญต่อการสร้างตัวอ่อน

กรดโฟลิกเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่ละลายได้ในน้ำ มีความจำเป็นต่อการสร้างเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย ทั้งดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคนโดยเฉพาะผู้หญิงที่แต่งงานและเตรียม จะมีเจ้าตัวเล็ก ควรได้รับกรดโฟลิกเพื่อนำไปใช้ในการสร้างตัวอ่อน

ซึ่งหากเปรียบกระบวนการสร้างตัวอ่อนเหมือนกับทองม้วนแผ่นแบนๆ พอม้วนเสร็จจะเป็นท่อกลม (คือหลอดประสาท) มีสองปลาย ตรงกลางคือลำตัว ปลายท่อด้านหัวจะเป็นสมอง ส่วนปลายท่อด้านท้ายจะเป็นไขสันหลัง เมื่อม้วนเสร็จจะต้องปิดหัวปิดท้าย

- ถ้าแม่ท้องขาดกรดโฟลิกจะทำให้ตอนม้วนๆ ได้ไม่สมบูรณ์ เป็นเหตุให้เกิดความพิการ เช่น ความผิดปกติของปากและเพดาน ความผิดปกติของหัวใจละหลอดเลือด

-แต่ถ้าตอนม้วนแล้วหัวท้ายไม่ปิด จะส่งผลให้เกิดความพิการได้เช่นกัน

ถ้าเป็นส่วนหัว จะมีความพิการของสมอง ระบบประสาทส่วนกลาง และกะโหลกศีรษะไม่ปิด

ถ้าเป็นส่วนท้าย จะทำให้กระดูกสันหลังแหว่ง หรือปิดไม่สนิท ความพิการที่เกิดขึ้นเช่น จะมีถุงน้ำที่ไขสันหลัง เอว หรือกระดูกก้นกบปูดออกมา ซึ่งความรุนแรงมีหลายระดับ บางรายถ้าเป็นมากก็ถึงขั้นเสียชีวิต ถ้าเป็นน้อยก็รักษาให้หายและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

กรดโฟลิก กินก่อนท้อง 1-3 เดือน

สำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้วและกำลังคิดจะมีลูก อย่าปล่อยให้ความคิดดีๆ นั้นผ่านไปโดยคุณไม่ได้ทำอะไรเลยนะคะ เพราะสิ่งสำคัญก่อนที่คุณจะมีลูก ก็คือการวางแผนครอบครัว ซึ่งเป็นการวางแผนเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ

โดยเฉพาะการกินกรดโฟลิกเสริมก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1-3 เดือน และกินต่อไปอีก 3 เดือนหลังตั้งครรภ์แล้ว จะได้รับประโยชน์และช่วยลดความพิการของโรคได้ แม้ความเสี่ยงเหล่านี้มีเพียง 1:1,000 ของการตั้งครรภ์ก็ตาม แต่ก็เป็นเร่องที่เราไม่ควรเสี่ยง จริงไหมคะ

ส่วนการกินกรดโฟลิกขณะตั้งครรภ์ จะไม่มีผลต่อการป้องกันความพิการแต่กำเนิด เนื่องจากการปิดหัวปิดท้ายจะปิดเสร็จภายใน 28 วันหลังปฏิสนธิ (ปฏิสนธิช่วงกลางรอบเดือนที่มีไข่ตก) ซึ่งกว่าจะรู้ตัวว่าประจำเดือนไม่มา หรือรู้ว่าท้องก็เลยช่วงเวลานี้ไปแล้ว เพราะแต่ละวันกลไกของธรรมชาติร่างกายคนจะถูกกำหนดไว้เรียบร้อยแ ล้วว่าจะสร้างอะไร เมื่อผ่านไปแล้วก็ไม่สามารถกลับมาสร้างซ้ำได้อีก

สำหรับคุณแม่ที่ไม่ได้เสริมกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์ก็ไม่ต้องตกใจ นะคะ เพราะกรดโฟลิกจะมีในอาหารที่เรากินทุกวันอยู่แล้วค่ะ ถ้าคุณไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงก็ไม่ต้องกังวล และอีกอย่างหนึ่งคือ ความผิดปกติเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กทุกคน และไม่ได้เกิดขึ้นจากการขาดกรดโฟลิกอย่างเดียว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกถึง 50% คือ

- ความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับไข่ของคุณแม่มากกว่าน้ำเชื้อของคุณ พ่อ เพราะจะมีการแบ่งโครโมโซมไว้ครึ่งหนึ่งแล้วตั้งแต่อยู่ในท้องเพ ื่อรอปฏิสนธิ ซึ่งอาจจะมีการแตก หัก หลุด และไปจับกันใหม่จนผิดที่ผิดทาง หรือหายไปบ้าง พอผสมกับน้ำอสุจิทำให้ไม่ครบคู่บ้าง เกินบ้าง ยิ่งอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป เปอร์เซ็นที่จะเกิดก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วย

- ได้รับเชื้อบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ไวรัสหัดเยอรมัน ก็มีส่วนทำให้สมองพิการได้เหมือนกัน เช่น ปัญญาอ่อน สมองลีบเล็กไม่เติบโต

- การกินยาบางชนิดขณะตั้งครรภ์ เช่น ยาขับประจำเดือนและยาอื่นๆ ซึ่งเข้าไปรบกวนการสร้างอวัยวะ เป็นต้น

- อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น พื้นที่เสี่ยง โดนรังสีเอกซ์เรย์ ได้รับสารเคมีบางอย่าง เป็นต้น


กรดโฟลิก กินแค่ไหนจึงจะพอ

แม่กลุ่มทั่วไป คือกลุ่มที่ไม่เคยมีประวัติว่าลูกหรือญาติมีความพิการแต่กำเนิด เมื่อตั้งครรภ์กรดโฟลิกในตัวแม่จะลดลง เนื่องจากถูกดึงไปใช้ในการสร้างตัวอ่อน ดังนั้นควรได้รับอย่างน้อยวันละ 400 ไมโครกรัม (0.04 มิลลิกรัม) จึงจะช่วยลดอุบัติการณ์ความพิการแต่กำเนิดได้มากกว่า 50% แต่ถ้าไม่ได้รับกรดโฟลิกก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดความพิการแต่กำ เนิดมากกว่า 50% เช่นกัน

แม่ในกลุ่มเสี่ยง คือกลุ่มที่มีประวัติว่าลูกหรือญาติเคยมีความพิการเกิดขึ้นอย่า งชัดเจน เช่น ความพิการของกะโหลก ระบบประสาทส่วนกลาง สมองพิการแต่กำเนิด โรคปากแหว่งเพดานโหว่ หรือแม่เป็นโรคโลหิตจาง เป็นต้น แม่กลุ่มนี้จะต้องได้รับกรดโฟลิกเพิ่มเป็นวันละประมาณ 40,000 ไมโครกรัม (4 มิลลิกรัม) คือมากกว่าแม่กลุ่มปกติประมาณ 100 เท่าค่ะ


กรดโฟลิก หาง่าย & สูญสลายง่าย

หาง่าย บ้านเรามีอาหารที่มีกรดโฟลิกให้เลือกมากมาย เพราะมีอยู่ในผักใบเขียวเกือบทุกชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ปวยเล้ง ผักกาดหอม หน่อไม้ฝรั่ง บล็อกโคลี ถั่วลันเตา ธัญพืชต่างๆ ผลไม้ตระกูลส้ม ที่สำคัญหากได้รับกรดโฟลิกแบบครบคุณค่าควรกินแบบสดๆ หรือถ้าจะลวกก็ต้องทำด้วยความรวดเร็วค่ะ

สูญสลายง่าย

- การปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนนานๆ จะทำให้กรดโฟลิกสูญสลายได้ง่าย

- หากมีอาการตัวร้อนและเป็นไข้หลายวัน ด้วยอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นทำให้ระดับกรดโฟลิกในร่างกายลดลงไ ด้เช่นกัน

- การได้รับยารักษาโรคลมชัก คนที่เป็นโรคลมชักและต้องกินยาเป็นประจำ ยาตัวนี้จะเข้าไปต่อต้านการสร้างโปรตีนและลดการดูดซึมของกรดโฟล ิก ดังนั้น คุณแม่ที่มีภาวะลมชักอยู่จะต้องกินโฟลิกให้มากขึ้นประมาณ 10 เท่าจากที่กินอยู่เดิมค่ะ
การวางแผนกินกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์ 1-3 เดือน เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า และคุ้มเวลาแห่งการรอคอยของคนเป็นแม่แน่นอนค่ะ

ป้ายกำกับ: , ,

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก