Na Na Sa Ra [นานา สาระ]

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทีวีไทยทำร้ายคนดู-โดยเฉพาะเด็ก

ระบุเด็กก้าวร้าว-มุ่งเรื่องเพศสูง ก่อปัญหาท้องก่อนวัย



หลายปีมานี้เป็นช่วงฉวยโอกาสของสื่อย่างทีวี-วิทยุ โดยเฉพาะทีวี กับ หลักการดูแลตัวเองผ่านข้ออ้างด้านการกำหนดช่วงเวลากระตุ้นสำนึก



แต่การปฏิบัติจริงไม่มีผู้บริหารทีวี.สำนึกที่ดี คิดแต่ว่าจะทำกำไรสูงสุดยังไม่สนใจว่าจะเกิดผลร้ายแก่ผู้คนสังคมประเทศชาติ



ละครแทบทุกเรื่องในทีวี. ทุกช่องล้วนแล้วแต่ไม่ประเทืองปัญญาไม่เป็นแบอย่างที่ดีงาม



แนวดังกล่าวดูเหมือนจะให้ความสุขคนดูชื่นชอบ แต่นั่นคือบ่อลาปลาของผู้บริหารทีวี. ที่กำลังยัดเยียดความทุกข์แบบผ่อนส่งแก้ประชาชนโดยไม่รู้ตัวเพียงเพราะหวังกอบโกยประโยชน์



ผมว่าอาจเอาจากเนื้อหาผลสำรวจจากลุ่มคน-องค์กรที่ห่วงผ่านเวทีเสวนาบางส่วนต่อไปนี้ครับ



"โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor) และเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ จัดเสวนา "ความรุนแรงในละครโทรทัศน์ทางฟรีทีวี" โดยนายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผจก.กลุ่มงานวิชาการโครงการฯ พบว่าในรอบปี 2551 มีละครแพร่ภาพ 113 เรื่อง โดยช่อง 7 มีมากที่สุดถึง 62 เรื่อง และออกอากาศมากที่สุด 26 ชม. 20 นาที ต่อสัปดาห์ตามด้วยช่อง 3 จำนวน 39 เรื่อง ช่อง 5 จำนวน 9 เรื่อง ทีวีไทย จำนวน 2 เรื่อง ช่อง 9 จำนวน 1 เรื่อง ละครไทย 80% อยู่ในเรต น.13 และ 18 คือ มีความรุนแรง เพศ ภาษา และมีละครเรต ท.เพียง 20% เท่านั้น"



นายธาม กล่าวว่า ละครส่วนใหญ่ 110 เรื่องมีปมขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรงและบางเรื่องมีมากกว่า 1 รูปแบบ ละครช่อง 3 จะมีปมความขัดแย้งในละครทุกเรื่องปมขัดแย้งเรื่องความรักมากที่สุด 36% โดยชิงรักหักสวาทนำไปสู่ความรุนแรงเช่น ฆาตกรรม ทำร้ายร่างกาย ดูถูกเหยียดหยาม ใส่ร้าย กักขัง และข่มขืน ทั้งนี้ยังพบการสร้างปมอาฆาต แก้แค้นอิจฉาริษยา แก่งแย่ง มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การวางแผนฆ่า ซึ่งเป็นการทำความรุนแรงทั้งต่อร่างกาย จิตใจ เพศ วัตถุ ด้วยวิธีต่างๆ และสอดแทรกความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ทั้งทางสังคม ทางเพศเศรษฐกิจ และการเมือง ทำให้เกิดการแบ่งแยก กีดกันต่างๆ ซึ่งพบในละครทุกเรื่อง



"ละคร 113 เรื่อง มี 10 เรื่อง ที่มีแก่นของเรื่องที่ดี อาทิ ส่งเสริมให้คนทำความดี ธรรมะชนะอธรรม ส่งเสริมสถาบันครอบครัว กำหนดคุณค่าของบุคคลโดยสังคม การให้อภัย ความรักมิตรภาพ ความสามัคคี การแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรงและการส่งเสริมสำนึกรักบ้านเกิด ที่น่าเสียดายคือแก่นเรื่องดี แต่วิธีนำเสนอใช้ความรุนแรงมากไป โดยมี 10 สูตรยอดนิยมวนเวียนไม่เคยเปลี่ยน เช่น เข้าใจผิดแก้แค้น ทาสสวาท แล้วเราก็รักกัน พ่อแม่ เธอทำชั้นเจ็บ ต้องเจ็บกว่า 10 เท่า"



นางอัญญาอร พานิชพึ่งรัถ เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ กล่าวว่า การศึกษา "การประเมินการจัดระดับความเหมาะสมของละครโทรทัศน์" ที่ได้ประเมินละครทางโทรทัศน์ทั้งก่อนและหลังข่าวเวลา 16.00-22.30 น. วันที่ 9 มี.ค. -22 มี.ค. ที่ผ่านมา ตามคู่มือการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ จากทั้งหมด 20 รายการ พบมี 3 รายการที่ใช้ น.13 แต่เมื่อประเมินแล้วพบว่าอยู่ในช่วง น.18 และเป็นละครที่อยู่ในช่วงก่อนข่าว โดยเฉลี่ยทุกสถานีโทรทัศน์พบว่า มีรายการที่ใช้เรต "ท." อยู่ที่ 30% เรต "น.13" อยู่ที่ 40% และเรต "น.18" อยู่ที่ 30% ซึ่งช่วงดังกล่าวไม่พบเรต ด.เลย พบว่าระดับความรุนแรงในแต่ละสถานีโทรทัศน์เฉลี่ยต่อเรื่อง ช่อง 5 มีมากที่สุดคือร้อยละ 5.2 ช่อง 7 ร้อยละ 4.8 ช่อง 3 อยู่ที่ 3.8 และช่อง 9 อยู่ที่ 3.0 จึงอยากจัดตั้งองค์กรที่มีหน้าที่ประเมินรายการโทรทัศน์อย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม และมีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคด้านสื่อด้วย



นพ.สุริยเดว ทรีปาตี หัวหน้าคลินิกวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า ผลกระทบจากสื่อไปถึงเยาวชน จากพฤติกรรมต่างๆ ที่เด็กแสดงออกมาทั้งความก้าวร้าว การแสดงออกเรื่องเพศ เห็นได้ชัดจากการท้องก่อนวัยอันควร การเป็นแม่ในวัยรุ่นซึ่งมีผลการวิจัยว่า หากมีฉากความรุนแรงทางเพศ 4 ฉากต่อชั่วโมงจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมได้อย่างชัดเจน จึงควรกำหนดฉากความรุนแรงโดยจัดให้อยู่ในเรต ฉ.และใช้มติ ครม.ในการกำหนดช่วงเวลาในการออกอากาศที่เหมาะสมกับเรตติ้ง



นายต่อพงศ์ เสลานนท์ อุนกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า ขณะนี้กำลังมีการยกร่างกฎหมายประกาศเพื่อควบคุมสื่อต่างๆ เช่น การกำหนดเวลา











ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก