Na Na Sa Ra [นานา สาระ]

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ปรัชญา เศรษฐกิจ พอเพียง

ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้เลยนะครับว่าสถานการณ์บ้านเมืองค่อนข้างเป็นที่น่าจับตามองในสภาวะที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลง ไปอย่างมากเข้าสู่ ระบบทุนนิยม ที่ “เงินตรา” มีความสำคัญนำหน้าจิตใจความรับรู้สิ่งที่ถูกผิด ศีลธรรม จริยธรรมถูกละเลย
เป็นเรื่องรองลงมาจนบางครั้งผมเองรู้สึกว่า “เงิน” สามารถซื้อ ความเป็นมนุษย์ ความเป็นคนหรือซื้อศักดิ์ศรีความเป็นไทย
ไปแล้วสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในสังคมไทย แทบทุกหย่อมหญ้า ไม่ว่าในสังคมเมืองหรือชนบท ระบบทุนนิยมได้เริ่มสร้าง
ปัญหาสังคมต่างๆ ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม ความยากจน ความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนถึงปัญหาอาชญากรรมการรับรู้ข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองขณะนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ประชาชนต้อง
คอยติดตามและใช้วิจารณญาณ คิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พ่อของแผ่นดิน” พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพทรงมองการณ์ไกลเสมือนหนึ่งเล็งเห็น
เหตุการณ์ล่วงหน้า ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผืนแผ่นดินไทย พระองค์ท่าน ได้พระราชทานปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศมาเป็นเวลานานแล้วและดูเหมือนว่าในสถานการณ์ปัจจุบันปัญหาต่างๆจะไม่เกิดขึ้นกับ
ประเทศไทย ถ้าแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียงนี้ไม่ถูกละเลย และเป็นที่ยึดถือปฏิบัติ อยู่ในจิตสำนึกของพสกนิกร
ชาวไทย และที่สำคัญคือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำประเทศ และดูแลความสงบสุข เรียบร้อยในบ้านเมือง

โอกาสนี้ผมจะขออัญเชิญ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาครับโดยปรัชญานี้มีเนื้อหาสาระดังนี้ครับ
“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ
เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบ
ภูมิคุ้มกันในตัวดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน

ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาต่างๆมาใช้ในการวางแผน
และดำเนินการทุกขั้นตอน และ ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และ นักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”





ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ จึงประกอบหลักการหลักวิชาการ และหลักธรรมหลายประการ อาทิ

(๑) เป็นปรัชญาแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน
จนถึงระดับรัฐ

(๒) เป็นปรัชญาในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง

(๓) จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็ว กว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

(๔) ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอ
สมควรต่อ การมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน

(๕) จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผน
และดำเนินการ ทุกขั้นตอน

(๖) จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ
ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร
มีสติปัญญาและความรอบคอบ

จะเห็นได้ว่าหากประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ยึดถือปรัชญานี้เป็นแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน มีสำนึกในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ ประเทศไทยจะสงบสุข ร่มเย็นยืนหยัดอยู่ได้ด้วย
ความสามารถ ความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทุกคน

สุดท้ายนี้ผมขออัญเชิญ “พระบรมราโชวาท” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๙ ความว่า

“การที่จะประกอบกิจการใดๆ ให้เจริญเป็นผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร และความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นรากฐานสำคัญ ประกอบกับจะต้องเป็นผู้มีจิตเมตตากรุณา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และพร้อมที่จะบำเพ็ญประโยชน์ ให้เกิดแก่ส่วนรวมตามโอกาสอีกด้วย”


เอกสารอ้างอิง : การเดินตามรอยพระยุคลบาท เศรษฐกิจพอเพียง ช่วยแก้ปัญหาความยากจนและการทุจริต,
สมพร เทพสิทธา

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิชัยพัฒนา คลิกที่นี่
http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.html

ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก